สงครามราคา สนามกอล์ฟทั่วประเทศ แข่งกันอยู่หรือแข่งกันตาย ใครได้ ใครเสีย??

สงครามราคา สนามกอล์ฟทั่วประเทศ แข่งกันอยู่หรือแข่งกันตาย ใครได้ ใครเสีย??
Thursday, 14 May 2020 - 21:00:00

สงครามราคา เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่เริ่มต้นมาจากร้านยาใช้ ในการทำการตลาด อาจจะอิ่มเอมในยอดขายที่มาในช่วงครู่ หารู้ไม่ว่าคนซื้อกำไร คนใช้ก็เจ็บตัวด้วย ดังนั้นจึงเป็นวิธีที่ไม่ควรนำมาใช้ สงครามไม่ว่าที่ไหนคนชนะเองก็สูญเสียไม่ได้ต่างจากผู้แพ้มากนัก ผู้ง่ายๆเจ็บทั้งคู่ เอาล่ะครับเรามาทำความเข้าใจกับสงครามราคากัน

สงครามราคา คืออะไร? สงครามราคา (Price War) คือ การแข่งขันกันลดราคาสินค้าของผู้ขายสินค้าเพื่อแย่งชิง ลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าของตนเองมากที่สุด เมื่อมีสงครามราคาเกิดขึ้นผู้ขายจะพยายามลดราคา สินค้าของตนให้ต่ำลงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเอาชนะคู่แข่งได้ ทำให้สินค้าชนิดนั้นมีราคาถูกลง และ ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการแข่งขันนี้

ลดราคา…นำไปสู่สงครามราคา

ในปัจจุบันการแข่งขันในวงการ สนามกอล์ฟ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆนั่นเป็นเพราะปริมาณสนามกอล์ฟมากขึ้นทำให้ เวลาในการเล่นกอล์ฟ หรือ กรีนฟี ก็ต้องขายมากขึ้น ในขณะที่ผู้ซื้อยังคงมีจำนวนเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากนัก นโยบายทางราคาจึงเป็นหนทางหนึ่งในการทำตลาดของผู้ขาย การกำหนดราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่ผู้ซื้อสามารถรับได้ คุ้มกับต้นทุนการค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าปุ๋ย ค่าดูแลสนามกอล์ฟ ซึ่งสนามกอล์ฟ 18 หลุมถ้าเป็นสนามกอล์ฟ 2 - 3 ดาวค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนก็ประมาณ 1 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นสนามกอล์ฟ 3 - 4 ดาว ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน สามารถ สูงได้ถึง 10 ล้านบาทเลยทีเดียว ยิ่งกรีนฟีราคาถูกยิ่งขายดีแต่จะเหลือกำไรไม่มาก แต่ถ้าตั้งราคากรีนฟี ไว้สูงอาจจะขายได้น้อยแต่ได้กำไรต่อหน่วยมากเป็นเรื่องที่ผู้ขายต้องตัดสินใจเลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง แต่สนามกอล์ฟก็จะช้ำและต้องเสียค่าดูแลสูงขึ้นตามมา ตลาดสนามกอล์ฟ เป็นตลาดที่มีการการแข่งขันกันรุนแรง เช่น จึงทำให้สนามกอล์ฟจำนวนมากมักนิยมใช้วิธีลดราคา กรีนฟี เพื่อดึงส่วนแบ่งตลาดมาจากคู่แข่ง ซึ่งผู้ขายอาจจะใช้วิธีนี้เป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ถ้าเป็นการ ลดราคากรีนฟีแบบชั่วคราวจะทำให้การแข่งขันไม่รุนแรงนัก แต่ถ้าเป็นการลดราคาอย่างถาวรจะเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดสงครามราคาได้อย่างดี เพราะเมื่อลดราคาต่ำจนดึงลูกค้ามาได้มากคู่ต่อสู้ก็ต้องลดราคาตาม และถ้ายังมีฝ่ายใดลดราคาอีกก็จะทำให้ผู้ขายคนอื่นๆก็จะลดราคาลงอีก กลายเป็นสงครามราคาขึ้น

จุดประสงค์ของผู้ขาย คือ การดึงให้ลูกค้าให้มาออกรอบที่สนามเรามากที่สุดไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ก็ตาม ผู้ขายจึงมักก่อให้เกิดสงครามราคาขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ขายรายใหม่เข้ามาในตลาด ผู้ขายรายใหม่ต้องพยายามแย่งลูกค้าจากผู้ขายเดิมให้ได้มาก จึงมักใช้วิธีตั้งราคาสินค้าให้ต่ำกว่าราคาท้องตลาด และนำไปสู่สงครามราคาในที่สุด

เงินไม่หนา อย่ามาเสี่ยง

ยังจำกันได้รึเปล่าว่า เมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อน อะไรที่เป็นแฟชั่นสุดฮิตในยุคนั้น การถ่าย สติ๊กเกอร์นั่นไง ในตอนแรกที่ธุรกิจการถ่ายสติ๊กเกอร์เพิ่งเริ่มนั้น ทำเอาคนหลายคนตั้งตัวขึ้นมาได้ในเวลาไม่กี่เดือน วัยรุ่นคนไหนไม่เคยถ่ายสติ๊กเกอร์เลยท่าจะหาได้ยาก ร้านถ่ายสติ๊กเกอร์เองก็ยังมีน้อย เวลาจะถ่ายที ร้านไหนถ่ายดีต้องถือบัตรคิวรอกันเกือบครึ่งชั่วโมง ทำให้ธุรกิจสติ๊กเกอร์กลายเป็นธุรกิจทองเพราะใช้เงินลงทุนน้อย ทั้งยังเป็นธุรกิจที่เหมาะกับการหัดลงทุนครั้งแรกอีกด้วย คนจำนวนมากหันมาเช่าตู้สติ๊กเกอร์มาให้บริการถ่ายสติ๊กเกอร์จนถึงขั้นเปิดร้านชนร้าน ในช่วงแรกที่คนยังฮิต ร้านทุกร้านก็เต็มหมด ทำยังไงก็ได้กำไร ยิ่งคนถ่ายมากกำไรยิ่งมาก จึงเริ่มมีคนที่ยังพอมีทุนเหลือเริ่มที่จะทำการเช่าตู้มาให้เยอะที่สุด และทำการลดราคาจากครั้งละ 150 ก็ลดมาเหลือ 120 บาทต่อครั้ง เมื่อราคาถูกแถมมีตู้เยอะ คนก็แห่ไปถ่ายกัน เมื่อร้านอื่นๆ เห็นก็ยอมไม่ได้ ทำการลดราคาลงมาเหลือ 110 บาท หั่นกันไปหั่นกันมาเรื่อยๆ แถมระหว่างนั้นก็ยังคงมีคนลงทุนเช่าตู้ สติ๊กเกอร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยลืมสังเกตว่าแฟชั่นนี้กำลังเริ่มลดความนิยมลงไปแล้ว เมื่อคนถ่ายน้อย เครื่องเยอะขึ้น เจ้าของตู้ก็ยิ่งลดราคากันไปใหญ่ เพื่อให้มีคนเข้ามาถ่าย ทำให้กำไรที่ได้ก็ลดลงไปเรื่อยๆ เจ้าใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาดก็ต้องเจ๊งไป เจ้าเก่าที่คืนทุนแล้วก็เสียกำไร ทำไปก็ไม่คุ้ม หลายรายก็ต้องเลิกไปทำอย่างอื่น

ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สงครามราคา…ผู้ซื้อเฮ ผู้ขายร้องไห้

อย่างที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าสงครามราคามักจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่มีอยู่หลายครั้งเช่นกันที่ผู้ขายตั้งใจจะก่อให้เกิดสงครามราคาขึ้นเพราะมั่นใจในความสามารถในการขายและการทำกำไรของตนเองและต้องการที่จะกำจัดคู่แข่งให้พ้นไปจากตลาด ทั้งๆที่เมื่อเกิดสงครามราคาแล้วนั้นรังแต่จะทำให้ผู้ขายต้องเสียประโยชน์ไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่ง เพราะคนซื้อจะแห่ไปซื้อสินค้าที่ถูกที่สุด ผู้ขายที่ตั้งราคาต่ำจะได้ยอดขายมากขึ้น แต่อาจจะได้กำไรเท่าเดิมหรือน้อยลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าราคาสินค้าลดลงมากแค่ไหนและยอดขายเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน ในขณะที่ผู้ขายที่ลดราคาสู้ไม่ได้จะมียอดขายลดลงจนอาจประสบภาวะขาดทุนต้องเลิกกิจการไป หลายครั้งหลายคราที่การ แข่งขันดุเดือดถึงขั้นยอมลดราคาต่ำกว่าทุนเพื่อกำจัดคู่ต่อสู้ไปให้ได้ซึ่งผู้ขายมีแต่เจ็บตัว ในขณะที่ผู้ซื้อสบายได้ซื้อของถูกลงในคุณภาพและปริมาณที่เท่าเดิม ในกิจการหลายประเภทจึงมีการพยายามรวมตัวกันระหว่างผู้ขายเพื่อกำหนดราคาสินค้าร่วมกันให้อยู่ในระดับราคาเดียวกันจะได้ไม่แย่งลูกค้ากัน แต่ให้ไปแข่งกันที่คุณภาพสินค้าหรือการส่งเสริมการขายด้านอื่นๆแทน เช่น ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ส่วนธุรกิจที่ไม่ได้มีการตกลงราคากัน ผู้ขายจึงควรใช้นโยบายทางราคาอย่างระมัดระวัง และคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรอบคอบด้วย

ติดตามทุกข่าวสารผ่านทาง LINE

ติดตามทุกข่าวสารผ่านทาง LINE

ติดตาม กอล์ฟดีดีได้ที่

Website - Golfdd.com
Golf Booking - Golf Booking
Blockdit - Blockdit
Facebook - Facebook Golfdd
Instagram - IG Golfdd
Line - Line Page
YouTube - Youtube Golfdd

Comments